เครื่องลดความชื้นบางครั้งย่อว่า DEH หรือ DHเอาน้ำจากอากาศภายในอาคาร การลดความชื้น คือ การกำจัดความชื้นให้ลดลง มีจุดประสงค์เพื่อรักษาความสะดวกสบายและป้องกันวัสดุก่อสร้าง หลักการในการลดความชื้นมีอยู่ 2 วิธี คือ การใช้ความร้อนปั๊มสารทำความเย็น และการดูดซับความชื้นโดยสารดูความชื้น (การให้โมเลกุลของน้ำยึดติดบริเวณพื้นผิวของวัสดุ)
จากรูปอากาศชื้นไหลผ่านขดลวดโลหะที่ผ่านการระบายความร้อน น้ำควบแน่นบนขดลวด และเก็บในอ่างเก็บน้ำ หรือระบายออกทางท่อระบายน้ำเย็น อากาศแห้งแล้วไหลผ่านมายังคอนเดนเซอร์ของปั๊มความร้อนให้อากาศอุ่น พัดออกไปภายนอก
อุณหภูมิ และการไหลของอากาศ
Temperature and RH-value
c25°C 70% RH
17°C 88% RH
18°C 85% RH mixed air flow
33°C 35% RH
จากรูปอากาศอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ความชื้น 70 เปอร์เซ็นต์ (หมายเลข 1) ไหลผ่านเครื่องควบแน่น (evaporator) (หมายเลข 2) ในตำแหน่งหมายเลข 2 อากาศจะลดอุณหภูมิเหลือ 17 องศาเซลเซียส ความชื้นเพิ่มขึ้นเป็น 88 เปอร์เซ็นต์ ผลของการควบแน่นนี้ทำให้หยดกลายเป็นน้ำบรรจุในถังเก็บน้ำ เพื่อกำจัดน้ำในอากาศให้อากาศกลายเป็นอากาศแห้ง สิ่งที่สำคัญ คือ อากาศทั้งหมดไม่สามารถลดอุณหภูมิได้ทั้งหมดด้วยเครื่องควบแน่น ทำให้เกิดความเสี่ยงที่ทำให้ไม่สามารถทำให้อากาศกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำได้ จะมีส่วนหนึ่งของอากาศที่ไหลผ่านไปยังหมายเลข 3 ซึ่งบริเวณนี้อากาศจะถูกทำให้อุณหภูมิลดลงถึง 18 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85% และอากาศร้อนจากผ่านคอนเดนเซอร์ สุดท้ายอากาศที่ไหลออกจากเครื่องลดความชื้นจะมีอุณหภูมิ 33 องศาเซลเซียส และความชื้น 35 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นนี้เกิดจากการทำงานของคอมเพรสเซอร์
สารดูดความชื้น จะย้ายความชื้นที่เข้ามาโดยให้อากาศผ่านล้อที่มีรูพรุนซึ่งสารดูดความชื้นทำจากวัสดุ เช่น ซิลิกาเจล ถ่าน ดูดซับน้ำ หลังจากความชื้นได้ถูกนำขึ้นโดยสารดูดความชื้นล้อหมุนอย่างต่อเนื่องย้ายความชื้นภายในวงล้อที่จะสัมผัสกับอากาศอีกครั้ง ความชื้นภายในล้อดูดซับจะถูกระบายออกนอกตัวอาคาร
ทั้งสองระบบทำให้อากาศภายในแห้งและอบอุ่น ปั๊มความร้อนของสารทำความเย็นที่ใช้ซึ่งแตกต่างจากเครื่องปรับอากาศ เนื่องจากปล่อยอากาศร้อนไปสู่อากาศภายใน และสามารถใช้งานร่วมกับเครื่องปรับอากาศได้ แต่จะทำให้ใช้พลังงานมากขึ้น
Rules of thumb formulas สูตรการคำนวนความเหมาะสมของเครื่องลดความชื้น
ในหลายกรณีที่ต้องการคำนวณความเหมาะสมของเครื่องลดความชื้น สามารถใช้สูตรต่อไปนี้ในการคำนวณได้อย่างง่าย ๆ และรวดเร็ว
W คือ ปริมาณน้ำที่ได้จากการอากาศ มีหน่วยเป็น g/hour.
V คือ ปริมาตรอากาศในห้อง มีหน่วยเป็น m3
ตัวอย่าง
1. Establishing a comfortable indoor climate
ถ้าต้องการค่าความชื้นประมาณ 50% RH :
W = V * 2.0 (g/hour)
ตัวอย่าง : V = 500m3> W = 2.0 * 500 = 1,000 g/hour.
2. Preserve and protect goods and materials
ถ้าต้องการค่าความชื้นประมาณ 50% RH :
W = V * 1.2 (g/hour)
ตัวอย่าง : V = 450 m3 > W = 1.2 * 450 = 540 g/hour
3. Repair water damage
สมมติให้กระบวนการภายใน 8-12 วัน และเงื่อนไขอยู่ที่ t = 20oC/50% RH (เริ่มต้นที่ 60% RH สิ้นสุดที่ 40% RH) :
W = V * 4.0 (g/hour)
ตัวอย่าง : V = 280 m3 > W = 4 * 280 = 1,120 g/hour